ประเพณีและวัฒนธรรม
ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม
1 การนับถือศาสนา
ประชากรในพื้นที่ตำบลนาข่า นับถือศาสนาพุทธ
2 ประเพณีและงานประจำปี
ชาวตำบลนาข่าทั่วไปได้รักษาขนบธรรมเนียม ประเพณีและวัฒนธรรมโบราณของตนไว้หลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเพณีที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ซึ่งตนเลื่อมใสศรัทธาโดยจำแนกได้ดังนี้
1) บุญข้าวจี่ หรือบุญเดือนสาม ทำโดยการนำข้าวเหนียวที่ปั้นโรยเกลือ ทาไข่ไก่ และจี่ไฟให้สุกเรียกว่าข้าวจี่ การทำบุญข้าวจี่มีคนนิยมทำกันมาก เพราะถือว่า ได้กุศลมาก และเป็นกาละทานชนิดหนึ่ง
2) บุญพระเวสน์ หรือบุญเดือนสี่ บุญที่มีการเทศน์พระเวสน์หรือมหาชาติ เรียกบุญพระเวสน์ หนังสือมหาชาติหรือเวสสันดรชาด เป็นหนังสือชาดกที่แสดงจริยาวัตรของพระพุทธเจ้า คราวพระองค์เสวยพระชาติ เป็นพระเวสสันดร เป็นหนังสือเรื่องยาว มี 14 ผูก บุญพระเวสสันดรกำหนดทำในเดือนสี่
3) ตรุษสงกรานต์ กำหนดเอาวันที่ 13 เป็นวันตรุษสงกรานต์ของทุกปี จะมีการรดน้ำพระพุทธรูป พระสงฆ์ และผู้หลักผู้ใหญ่ เรียกว่า สรงน้ำ การทำบุญมีให้ทาน เป็นต้น เกี่ยวแก่การสรงน้ำ เรียกบุญสรงน้ำอีกอย่างหนึ่งว่าตรุษสงกรานต์ “ ตรุษ ” คือสิ้น สงกรานต์ คือการเคลื่อนย้าย ได้แก่ วันที่พระอาทิตย์เคลื่อนย้ายจากฤดูหนาว ก้าวขึ้นสู่ฤดูร้อน ในระยะนี้ เรียก ตรุษสงกรานต์
4) บุญบั้งไฟ หรือเรียกว่า บุญเดือนหก การนำเอาดินประสิว (ขี้เจีย) มาคั่วผสมกับถ่าน เรียกว่า หมื่อ เอาหมื่อใส่ กระบอกไม้ไผ่ (ปัจจุบันพัฒนาเป็นท่อพลาสติกหรือท่อพีวีซี) ตำให้แน่น แล้วเจาะรู เรียกว่า บั้งไฟ
5) บุญเข้าพรรษา การอยู่ประจำในอาวาสแห่งเดียวตลอด 3 เดือน ในฤดูฝน เรียกว่า เข้าพรรษาโดยปกติกำหนดเอาวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 เป็นวันเข้าพรรษา ซึ่งชาวบ้านจะมีการถวายผ้าอาบน้ำฝน ถวายเทียนพรรษา และมีการทำบุญ เป็นต้น
6) บุญออกพรรษา การออกจากเขตจำกัดไปพักแรมที่อื่นได้ เรียกว่า ออกพรรษา พรรษาหมายถึง ฤดูฝน ปีหนึ่งมี 4 เดือน คือ ตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 8 ถึง ขึ้น 15 ค่ำเดือน 12 ในระยะ 4 เดือน 3 เดือนแรกให้เข้าพรรษาก่อน เข้าครบกำหนด 3 เดือน แล้วให้ออกอีก 1 เดือน ให้หาผ้าจีวรมาผลัดเปลี่ยนการทำบุญมีให้ทาน เป็นต้น
3 ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น
4 สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก